วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โอเอซิสอนุรักษ์น้ำ


งานวิจัย

เรื่อง

โอเอซิสอนุรักษ์น้ำ

จัดทำโดย

นางสาว วัชราภรณ์ บุญจวง
นางสาว พรรณนิภา วงษ์หนองแวง
นางสาว สุทธิดา แมนระจิตร

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

โรงเรียนน้ำพองศึกษา
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

บทที่ 1
โอเอซิสอนุรักษ์น้ำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญ
จากการที่เราทำการศึกษาในเรื่องนี้เราประสบปัญหาเกี่ยวกับการปลูกพืชที่ทำให้คนที่อาศัยอยู่คนตามคอนโดหรือหอพักไม่สามารถปลูกพืชผักได้ หรือปลูกไว้แล้วแต่ไม่มีเวลารดน้ำเพราะส่วนมากจะไม่ค่อยมีเวลามาใส่ใจเท่าไหร่ เพราะบางคนอาจจะต้องรีบไปทำงานหรือไปเรียน พอกลับถึงบ้านหรือที่พักก็อาจจะเหนื่อย จึงทำให้ไม่มีเวลามาใส่ใจ และการปลูกแบบทั่วไปตามท้องตลาดจะใช้ดินในการปลูกพืชแล้วเวลาที่รดน้ำ น้ำก็จะซึมออกทำให้ต้องรดน้ำทุกวันและอาจจะทำให้พื้นระเบียงห้องสกปรกมีคาบดินติดที่พื้นด้านล่างและน้ำอาจจะไหลลงไปโดนบริเวณห้องของคนอื่นทำให้คนอื่นเดือดร้อน  พวกเราจึงคิดหาวิธีที่สามารถปลูกพืชได้โดยไม่ต้องกลัวน้ำซึมออก เก็บความชื้นได้นานเท่าที่พืชต้องการและไม่เลอะพื้นที่ ที่เราจะใช้วาง และเราก็สังเกตจากการที่ คนจัดดอกไม้ ที่ใช้โอเอซิสในการจัดตกแต่งดอกไม้ เพื่อที่จะทำให้ดอกไม้อยู่ได้นานขึ้น และโอเอซิสมีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำได้ดีและน้ำก็ไม่ซึมออกเหมือนดิน
        พวกเราจึงคิดที่จะนำเอาโอเอซิสมาผสมกับดินในการปลูกพืช เพื่อที่จะทำให้คนที่พักหอหรือคอนโด ได้ปลูกอย่างสบายใจและไม่ต้องกลัวเลอะพื้นหรือระเบียงห้องอีกต่อไป ไม่ใช่แค่คนที่อาศัยอยู่หอพักหรือคอนโดเท่านั้น  เราสามารถปลูกในบ้านของเราก็ได้

1.2 วัตถุประสงค์การทำวิจัย
1.เพื่อที่จะทำให้สะดวกในการปลูก
2.ประหยัดพื้นที่ในการปลูก
3.ประหยัดน้ำที่ใช้ในการรด เพราะโอเอซิสมีคุณสมบัติที่ดูดซึมน้ำได้ดีและอยู่ได้นานกว่าดิน
4.เพื่อประดับตกแต่งห้องหรือบริเวณตามที่เราต้องการ


1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-ประหยัดน้ำ
- ประหยัดเวลา ไม่ต้องรดน้ำทุกวัน
-ทำให้พื้นที่ที่ใช้วางสะอาดไม่มีคราบดินติดพื้น
   - ไว้เป็นประดับห้อง

1.4 ระยะเวลาในการดำเนินการ
เดือน พฤศจิกายน
2558– 29 กรกฎาคม 2559

1.5 แผนการดำเนินการ
1.วางแผนเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องและจัดทำเนื้อหาเกี่ยวกับโครงงาน
2.ศึกษาเกี่ยวก้อนโฟมโอเอซิส
3.เริ่มทำการทดลอง
4.สรุปผลการทดลอง
5. คิดพัฒนาผลงานให้น่าสนใจ
6.เตรียมการทำการเผยแพร่ผลงาน

1.6 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น            ดินผสมโอเอซิส (ชุดที่ 1)
ตัวแปรตาม           การเกิดของเมล็ดผัก ความซื้นชองดินที่เมื่อปล่อยทิ้งไว้ 3-4 โดยไม่รถน้ำ
ตัวแปลควบคุม   อุณหภูมิ แสง ภาชนะ จำนวนเมล็ดผัก ปริมาณน้ำที่ใช้รด



บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ฟองน้ำลอรัลโอเอซิส
ฟองน้ำดอกไม้ -- นี้เป็นวัสดุที่มีรูพรุนเทียมซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อทางการค้าของ Oasis ถูกคิดค้นในยุค 40 และกลายเป็นหมายถึงหลักของพืชในการแก้ไของค์ประกอบ
ที่น่าตื่นตาตื่นใจคุณสมบัติของโฟมดอกไม้, ความหลากหลายของรูปแบบและความพร้อมของอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของดอกไม้ที่มีความเป็นไปได้ที่ไม่ จำกัด สำหรับความคิดสร้างสรรค์
การออกแบบจะใช้บ่อยโอเอซิสของสามประเภทขั้นพื้นฐาน :
-- สีเขียวเพื่อสร้างองค์ประกอบของดอกไม้;
-- สีน้ำตาลเพื่อให้องค์ประกอบของดอกไม้แห้งและวัสดุเทียม;
-- สีโฟมยูนิเวอร์แซดอกไม้, หนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ล่าสุดของโอเอซิส 
กรีนดูดซับน้ำและถูกนำไปใช้จัดการกับพืชสดและสีเทาหรือน้ำตาลจะใช้สำหรับการติดตามด้วยดอกไม้แห้งหรือเทียมกรีนฟองน้ำอาจจะเป็นของรูปทรงต่างๆส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของรูปสี่เหลี่ยมหรือวงกลม

มันเบามาก แต่ดูดซับน้ำและจะกลายเป็นหนักกว่าสามสิบครั้ง ไม่ได้รับอนุญาตให้ฟองน้ำแห้งขึ้น -- หลังจากที่ใช้มันควรจะห่อในกระดาษฟอยล์หรือ polythene แล้วมันจะทำหน้าที่ให้กับเพลงอีกไม่กี่
ประโยชน์จากฟองน้ำดอกไม้ก็คือมันช่วยให้ลำต้นที่มุมใดเช่นในที่ตื้นและลึกลงไปในเรือและขจัดปัญหาจากความเมื่อยล้าของน้ำ ความสามารถในการสีโฟมในการดูดซึมน้ำที่จะทำให้มันเหมาะสำหรับการใช้งานด้วยดอกไม้สดและช่วยให้ความสัมพันธ์ของเธอเพื่อให้เกิดวัสดุที่แห้งและเทียม
ซึ่งแตกต่างจากโฟมโอเอซิสแบบดั้งเดิมที่ให้บริการพื้นฐานสำหรับองค์ประกอบของสีโอเอซิสเป็นองค์ประกอบตกแต่งเต็มรูปแบบขององค์ประกอบที่ช่วยให้ขั้นต่ำของสีและวัสดุตกแต่ง
แร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับพืช
ธาตุไนโตรเจน
หน้าที่และความสำคัญต่อต้นพืช
ช่วยทำให้พืชตัวตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโตช่วยเสริมใบและลำต้นให้มีสีเขียวเข้มและช่วยเพิ่มปริมาณโปรตีนให้แก่พืชที่ใช้เป็นพืชอาหารเช่นข้าวหรือหญ้าเลี้ยงสัตว์นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องควบคุมการออกดอกออกผลของพืชช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นโดยเฉพาะพืชที่ให้ผลและเมล็ด
อาการของพืชที่ขายธาตุไนโตรเจน
ใบจะเหลืองผิดปกติจากใบล่างไปสู่ยอด
ลำต้นจะผอมกิ่งก้านลีบเล็กและมีใบน้อย
พืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นสีเหลืองหรืออาจจะมีสีชมพูเจือปนด้วย
ใบพืชที่มีสีเหลืองปลายใบและขอบใบจะค่อยๆแห้งและลุกลามเข้ามาเรื่อยๆจนใบร่วงจากลำต้นก่อนกำหนด
พืชจะไม่เติบโตหรือโตช้ามาก
ธาตุฟอสฟอรัส
หน้าที่และความสำคัญต่อต้นพืช
ช่วยให้ราดดึงดูดโปแตสเซียมเข้ามาใช้เป็นประโยช์ได้มากขึ้น
ช่วยแก้ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป
ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากฝอยและรากแขนงในระยะแรกของการเจริญเติบโต
ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็วช่วนในการออกดอกและสร้างเมล็ดของพืช
เพิ่มความต้านทานต่อโรคบางชนิดทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี
ทำให้ลำต้นของพืชจำพวกข้างแข็งขึ้นไม่ล้มง่าย
อาการของพืชที่ขายธาตุฟอสฟอรัส
พืชจะชะงักการเจริญเติบโตต้นแคระแกรนพืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นบิดเป็นเกลียวเนื้อไม้จะแข็งแต่เปราะและหักง่าย
รากจะเจริญเติบธตและแพร่กระจายลงในดินช้างกว่าที่ควรดอกและผลที่ออกมาไม่สมบูรณ์หรือบางครั้งอาจหลุดร่วงไปหรืออาจมีขนาดเล็ก
พืชจำนวกลำต้นอวบน้ำหรือลำต้นอ่อนๆจะล้มง่าย
ใบแก่จะเปลี่ยนสีหรือพืชบางชนิดใบจะเป็นสีม่วง
อาการจะเกิดขึ้นกับใบล่างๆของต้นขึ้นไปหายอด
ธาตุโปแตสเซียม
หน้าที่และความสำคัญต่อต้นพืช
ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากทำให้รากดูดน้ำได้ดีขึ้น
มีความจำเป็นต่อการสร้างเนื้อของผลไม้ให้มีคุณภาพดี
ทำให้พืชมีคามต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ
ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคต่างๆ
ช่วยป้องกันผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับพืชเนื่องจากการได้รับไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเมากเกินไป
ช่วยเพิ่มคุณภาพของพืชผักและผลไม้โดยทำให้พืชมีสีสันขนาดความหวานและคงทนต่อสภาวะแวดล้อมได้
อาการของพืชที่ขายธาตุโปแตสเซียม
ขอบใบเหลืองและกลายเป็นสีน้ำตาลโดยเริ่มต้นจากปลายใบเข้าส่งกลางใบส่วนที่เป็นสีน้ำตาลจะแห้งเหี่ยวไปจะเกิดจากใบล่างก่อนแล้วจึงค่อยๆลามขึ้นข้างบนพืชที่เห็นชัดคือข้าวโพด
ทำให้ผลผลิตตกต่ำพืชจำนวกธัญพืชจะทำให้เมล็ดลีบมีน้ำหนักเบาพืชหัวจะมีแป้งน้อยและน้ำมากข้าวโพดจะมีเมล็ดไม่เต็มฝักฝักจะเล็กมีรูปร่างผิดปกติใบยาสูบมีคุณภาพต่ำติดไฟยากกลิ่นไม่ดีพืชจำพวกฝ้ายใบจะมีสำน้ำตาลปนแดงสมอฝ้ายที่เกิดขึ้นจะไม่อ้าเต็มที่เมื่อแก่
ธาตุแคลเซียม
เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตในตัวพืชช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้เห้เป็นประโยชน์มากขึ้นในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ดพืชจะมีความจำเป็นมากเพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืชเพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป
อาการของพืชที่ขาดแคลเซียมจะพบมากในบริเวณยอดและปลายรากยอดอ่อนจะแห้งตายและใบจะมีการการม้วนงอไปข้างหน้าและขาดเป็นริ้วๆซึ่งจะเกิดที่ใบอ่อนก่อนแก้ไขโดยการใส่ปูนขาวหินปูนบดหินปูนเผาเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินหรือการใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน
ธาตุกำมะถัน
กำมะถันมีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืชเป็นองค์ประกอบของวิตามินบางตัวที่มีผลทางอ้อมต่อการสร้างสีเขียวของพืชซึ่งจะช่วยให้เกิดการหายใจและการปรุงอาหารพืช
พืชที่ขาดกำมะถันจะมีเสียเขียวอ่อนหรือเหลืองคล้ายๆอาการขาดไนโตรเจนใบขนาดเล็กลงยอดของพืชจะชะงักการเจริญเติบโตลำต้นและกิ่งก้านลีบเล็กอาการขาดธาตุกำมะถันจะมีอาการแตกต่างจากขาดธาตุไนโตรเจนคือจะปรากฏที่ยอดอ่อนก่อนส่วนใบล่างยังคงปกติถ้าอาการรุนแรงใบล่างก็จะมีอาการด้วยเช่นกันซึ่งจะตรงข้ามกับอาการของการขาดไนโตรเจนจะแสดงอาการที่ใบล่างก่อน
ดินที่มักพบเสมอว่าขาดธาตุกำมะถันคือดินทรายซึ่งมีอินทรีย์วัตถุน้อยการเพิ่มกำมะถันในดินนอกจากจะมีการใส่กำมะถันผงโดยตรงแล้วการใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยพืชสดก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดธาตุกำมะถันในดินได้เช่นกัน
แต่ข้อควรระวังในการใส่กำมะถันก็คืนหากใส่มากเกินความจำเป็นจะทำให้ดินเป็นกรดได้
ธาตุแมกนีเซ๊ยม
เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียทั้งที่ใบและส่วนอื่นๆซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างอาหารและโปรตีนพืช
อาการขาดแมกนีเซียมจะสั่งเกตได้จาบใบพืชที่เหลืองซีดบริเวณเส้นกลางใบที่อยู่ใกล้กับผลถ้าหากอาการขาดรุ่นแรงใบแก่จะมีอาการมากกว่าใบอ่อน
การขาดธาตุแมกนีเซียมจะทำให้ผลผลิตลดน้อยลงและต้นพืชทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัดซึ่งสาเหตุที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียมนั้นเพราะปริมาณแมกนีเซียมที่อยู่ในดินถูกชะล้างลึกลงไปเกินกว่าที่รากพืชจะดึงดูดมาใช้ได้และการที่มีปริมาณโปแตสเซียมสะสมในดินมากเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ
การแก้ไขสามารถทำได้โดยการปรับปรุงสภาพดินความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสมต่อการดูดเข้าไปใช้ของพืชและมีการใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมที่พอเหมาะที่สำคัญก็คือการฉีดพ่นทางใบด้วยธาตุอาหารเสริมซึ่งมีธาตุแมกนีเซียมในรูปที่พืชสามารถนำปใช้ได้ทันที
และธาตุอื่นๆอีกมากมาย






บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน
1.              สถานที่ทำการศึกษา
บ้านเลขที่ 141 หมู่1 บ้านกุดน้ำใส ต.กุดน้ำใส อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
2.              วัสดุ/อุปกรณ์ในการทดลอง
1.             ก้อนโอเอซิส
2.             ดิน
3.             เมล็ดผัก
4.             ถาดที่ไม่มีรูรั่วน้ำ
5.             แผ่นโฟม
6.             กาวแท่ง,ปืนกาว
7.             แผ่นพลาสติกใส
8.             มีด
9.             ไม้
10.      ตะแกรงเหล็กปิ้งย่าง
11.      ผ้า,เข็ม,ด้าน
3.              ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 1
1.             ทำกล่องสำหรับปลูกพืชทดลอง
2.             นำเมล็ดผักแช่น้ำ ประมาณ 3-4  ชั่วโมง

ขั้นตอนที่ 2
แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุด
ขั้นตอนการทำ ชุดที่ 1
1.             ตัดโอเอซิสเป็นก้อนสี่เหลี่ยมยาว
2.             นำก้อนโอเอซิสที่ตัดไว้ วางเรียงไว้บริเวณขอบๆของกล่องปลูก
3.             ตัดโอเอซิสให้เป็นก้อนเล็กๆ วางรองพื้นไว้เล็กน้อย
4.             นำโอเอซิสที่ตัดเป็นก่อนเล็กๆอีกส่วนผสมดิน แล้วนำมาใส่ในกล่องปลูก
5.             นำดินที่ไม่ได้ผสมกับโอเอซิสมาใส่ชั้นบนสุด เพื่อเตรียมปลูก
6.             นำเมล็ดผักที่แช่น้ำไม้ ลงปลูกในกล่องปลูก
7.             รดน้ำพอเหมาะ
                          ขั้นตอนการทำ ชุดที่  2
1.    นำดินที่ไม่ผสมโอเอซิสลงในกล่อง
2.    นำเมล็ดผักที่แช่น้ำไว้ลงปลูก
3.     รดน้ำพอเหมาะ

























บทที่4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
               การศึกษาวิจัยเรื่องโอเอซิสอนุรักษ์น้ำ ได้ทำการศึกษาตามขั้นตอนดังนี้
1.                ผลการวิเคราะห์การศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของโอเอซิส
2.                ผลการวิเคราะห์จากการเจริญเติบโตของเมล็ดผัก
3.                ผลการวิเคราะห์จากการสังเกตความชื้นของดิน

1.            ผลการวิเคราะห์การศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของโอเอซิส ดังนี้
          กลุ่มของพวกเราได้ศึกษาเกี่ยวกับโอเอซิส ซึ่งโอเอซิสมีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำได้ดี และน้ำไม่ซึมออกเหมือนดิน

2.            ผลการวิเคราะห์จากการเจริญเติบโตของเมล็ดผัก ดังนี้
          จากการทดลองที่เราปลูกผักในตู้ทดลอง 2 ชุด ซึ่งเราปลูกเมล็ดผักจำนวนเท่า คือ 80 เมล็ด พบว่าในตู้ที่มีดินผสมโอเอซิส จะเห็นว่าเกิดมากกว่าในตู้ที่มีเฉพาะดิน
3.            ผลการวิเคราะห์จากการสังเกตความชื้นของดิน ดังนี้
           จะเห็นได้ว่าเมื่อปล่อยทิ้งไว้ 1 วัน ตู้ที่มีเฉพาะดินจะแห้งเร็วกว่าตู้ที่มีดินผสมโอเอซิส ซึ่งตู้ที่มีดินผสมกับโอเอซิส เมื่อทิ้งไว้โดยที่ไม่รดน้ำ 2-3 วัน จะเห็นว่าดินจะยังคงมีความชื้นมากกว่า
สามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้
        
ตารางผลกาทดลอง
ผลการทดลอง
ชุดที่ 1
(ดินผสมโอเอซิส)
ชุดที่ 2
(ดิน)
1.จำนวนเมล็ดที่งอก (จากเมล็ดผัก 80 เมล็ด)
 (ต้น)
61
59
2. ความชื้นเมื่อทิ้งไว้ 3-4 วัน
ยังมีความชื้นอยู่
หน้าดินเริ่มแห้ง






บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปและอภิปรายผล
                     จะเห็นได้ว่า การนำเอาโอเอซิสมามีส่วนร่วมในการปลูกผัก โดยนำเอาโอเอซิสมาผสมกับดิน จะมีความชื้นและสามารถอยู่ได้นานกว่าการใช้เฉพาะดิน และการที่เรานำเอาโอเอซิสมาผสมกับดินเพื่อที่เราจะได้เพื่อสารอาหาร จะเห็นได้ว่าผักเจริญเติบโตได้เร็วกว่าการใช้เฉพาะโอเอซิส เพราะโอเอซิสไม่มีสารอาหารจึงทำให้พืชโตช้ากว่าปกติ และการนำโอเอซิสมาผสมกับดินทำให้เราสามารถเห็นความแตกต่างได้มากกว่าการใช้เฉพาะดินปลูกเหมือนตามท้องตลาดทั่วไป เพราะการใช้เฉพาะดินปลูก ดินไม่สามารถอุ้มน้ำได้นาน ทำให้ต้องรดน้ำทุกวัน แต่การที่เรานำเอาโอเอซิสมาผสมกับดินจะทำให้เห็นได้ว่า มันสามารถที่จะเก็บน้ำได้นานและทำให้ดินยังมีความชื้นอยู่
                  ซึ่งหลังจากการทดลอง โอเอซิสที่ผสมกับดินทำให้พืชได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น และสามารถเก็บน้ำได้นานกว่าการใช้ดินปลูกปกติตามท้องตลาดทั่วไป และเหมาะสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลารดน้ำหรือเอาใจใส่ในเรื่องพวกนี้เท่าไหร่ เพราะเราสามารถที่จะรดน้ำ ได้เพียง 1ครั้ง/สัปดาห์เท่านั้น จึงเหมาะมากสำหรับคนที่ไม่มีเวลาแต่ก็อยากจะปลูกผักทานเองบ้าง

5.2 ข้อเสนอแนะ
            5.2.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป
                         การวิจัยเรื่องโอเอซิสอนุรักษ์น้ำ อาจทำให้สามารถเก็บน้ำได้นานกว่าปกติและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
            5.2.1 ปัญหาและอุปสรรค
1.             ไม่มีเวลาในการทำวิจัย
2.             อุปกรณ์ในการทำวิจัย





                                           ภาคผนวก





























                                            รูปที่1ปลูกในดิน             รูปที่ 2 ปลูกในดินโอเอซิส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น